คู่มือประชาชนเลือกตั้งท้องถิ่น

กระบวนการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งท้องถิ่น

การปกครองส่วนท้องถิ่นมีหลักการสำคัญ คือ การกระจายอำนาจให้ราษฎรมีอำนาจในการปกครองตนเองด้วยการเลือกผู้บริหารและสมาชิกสภาเข้าไปตัดสินใจบริหารแทนตน ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีอำนาจในตัวเองทั้งในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติ มีอำนาจอิสระตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ การปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งเป็น 5 รูปแบบ ด้วยกันคือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล (แบ่งเป็น 3 ระดับคือ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

 ความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาชนในด้านต่างๆ เช่น
 ด้านการศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี
 ด้านสาธารณูปโภค
 ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 ด้านการส่งเสริมอาชีพ พัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ

 ผู้แทนระดับท้องถิ่น

  ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละแห่งที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร
มีหน้าที่ออกกฎหมายท้องถิ่น และตรวจสอบการบริหารงานของท้องถิ่น ได้แก่
1. ส.อบต.
2. ส.ท.
3. ส.จ.
4. สมาชิกสภาเมืองพัทยา
5. ส.ก.
มีหน้าที่ในการควบคุมและบริหารกิจการของท้องถิ่น ได้แก่
1. นายก อบต.
2. นายกเทศมนตรี
3. นายก อบจ.
4. นายกเมืองพัทยา
5. ผู้ว่าราชการ กทม.

  เมื่อไหร่จะมีการเลือกตั้ง

กรณี ต้องเลือกตั้งภายใน
สภาท้องถิ่นครบวาระ 45 วัน
สภาท้องถิ่นถูกยุบ 60 วัน
กกต.สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ 60 วัน
สมาชิกสภาท้องถิ่นตาย ลาออก หรือพ้นสมาชิกภาพตาม พ.ร.บ. ต้องเลือกตั้ง 60 วัน
(เว้นแต่อายุสภาเหลือไม่ถึง 180 วัน)

 

ไฟล์แนบเอกสาร

ดาวน์โหลดเอกสาร 1

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *